วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการทำการตลาดให้กับ 2 ธุรกิจ

การทำการตลาดระหว่างประเทศ ของทั้ง2 ธุรกิจ

ธุรกิจที่
1 Fuji




 
การตลาด
1.การหา target, market ใหม่ๆแล้วทำการเจาะตลาด การขยายสาขา ซึ่งฟูจิเองก็งัดกลยุทธ์นี้ออกมาใช้โดยการจะทุ่มงบประมาณหลายร้อยล้าน ทำธุรกิจโรงแรมที่ครบครันสำหรับลูกค้าที่อยู่ในระดับบี+ เพื่อเจาะตลาดใหม่ๆรวมทั้งทำการขยายสาขาฟูจิ และสาขาสินค้าในแบรนด์ เช่น โคโคอิจิบังยะ ซูซิซึกิจิ เพื่อเพิ่มยอดขายให้เจริญเติบโตมากกว่าปีที่ผ่านมา และในอนาคตก็ควรที่จะทำการขยายสาขาไปยังต่างประเทศมากขึ้นกว่านี้ อาจเริ่มต้นที่ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอันได้แก่ ประเทศ สิงค์โปร มาเลเซีย เวียดนาม ที่ตอนนี้องฟูจิก็มีแผนจะทำการขยายตัวอยู่แล้ว เมื่อถึงอนาคตก็ขยายสาขาไปยังทวีปต่างๆเพื่อเจาะกลุ่มตลาดใหม่ๆให้มากกว่านี้

2.การทำ Promotion ซึ่งปัจจุบัน คือ4p นั่นเองที่รวมอยู่ใน promotion ฟูจิเองเองได้ ทำบัตรสมาชิก ใช้ชื่อว่า ฟูจิ สมารท์ ไลฟ์ พรีเวิลเลจ ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับสิทธิพิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด ของสมนาคุณ การได้เวิร์กชอป นอกจากการที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าฟูจิทำการคืนกำไรคืนสู่ลูกค้าแล้ว ยังทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีภายใต้แบรนด์ เกิดการบอกต่อและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งฟูจิอาจจะทำการตลาดประเภทนี้ออกมาเรื่อยๆเพื่อกระตุ้นยอดขาย ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีมากและแน่นอนที่สุดจะทำให้ฟูจิมียอดขายที่ดีและสูงขึ้นกว่าเดิม

3.การทำการตลาดผ่านสื่อ หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นเสนอผ่านสื่อ ทีวี วิทยุ แมสมีเดีย ออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ป้ายบิลบอร์ด เพื่อเจาะตลาดขยายฐานของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง




ธุรกิจที่ 2 MK

การตลาด

1. การสร้างภาพลักษณ์ที่แตกต่าง เป็นการสื่อสารแผนการตลาดเชิงรุก อย่างที่รุจักกันดีว่า MK เป็นร้านอาหารของครอบครัวและของกลุ่มเพื่อนเป็นการแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ และความสะอาดสะดวกรวดเร็วบริการดีๆโดยควรทำโฆษณาตอกย้ำผ่านสื่อทีวีเรื่อยๆเพื่อทำให้ลูกค้าฝังใจภาพลักษณ์ ทำให้ MK เป็นเบอร์1ของธุรกิจอาหาร

2. ทำการเน้นนวัตกรรมการให้บริการครบวงจร ได้มาตรฐานโดยใช้แนวคิด QCQS คือ ความรวดเร็ว Quickness ความสะอาด Cleanliness คุณภาพ  Quality และการให้บริการ Service

3. การสร้างแคมเปญ ต่างๆ เช่นตอนนีMK เองก็มีแคมเปญ อิ่มท้อง ลุ้นอิ่มทองเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ช่วยกระตุ้นยอดขายได้และเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่เอ็มเคควรมีมาเรื่อยๆ ในแต่ละช่วงเวลา และช่วงเทศกาลเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงนั้นๆ

4. การทำโฆษณา เช่นการปล่อยโฆษณา ล่าสุดที่ย้ำคอนเซปต์ (เอ็มเค อยากให้คนไทยสุขภาพดี) ทำให้ลูกค้าจำภาพลักษณ์

5. การเจาะกลุ่มตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ ขยายสาขา โดยการขายแฟรนไชส์ให้นักธุรกิจไม่ว่าจะเป็นไทยและต่างชาติ

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขนมอินเดีย


ร้านขนมอินเดีย

วิธีการเดินทาง
- - - > >ด้านหลังห้างอินเดีย เดินไปสุดทางจะเจอเป็นตลาดให้เลี้ยวซ้ายแล้วเจอศาลเลี้ยวขวาอีกรอบ

ขนมที่ชิม
- - - > >
ขนมที่ชิมมีชื่อ
Chom Chom และอีก2 อย่างจำไม่ได้ ลักษณะ ขนมของอินเดียเค้าจะแบ่งเป็น2 ตู้ ฝั่งหนึ่งจะเป็นพวกที่ทำจากนมหลังจาที่ชิมแล้วจะได้กลิ่นนมแรงมากและกลิ่นเหมือนพวกน้ำอบ ถ้าลองบีบๆดูจะเห็นเป็นน้ำเชื่อมไหลออกมาและจะมีส่วนประกอบของมะพร้าวอีกอย่างที่สังเกตเค้าจะเน้นสีสันมีสีชมพู เขียว ขาว ต่างๆแต่เท่าที่ชิมรสชาติก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก หวานๆ ส่วนอีกฝั่งหนึ่งที่สอบถามมาจะเป็นขนมที่ทำจากแป้ง ลักษณะ แข็งๆเป็นก้อนต่างๆตอนชิมรสชาติไม่หวานมากแต่ก็มีกลิ่นฉุนของพวกเครื่องเทศหรือน้ำอบอะไรซักอย่างไม่แน่ใจและยังมีในส่วนของส่วนประกอบของมะพร้าวอีกตามเคย

ความรู้สึก
- - - > >โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยชอบเท่าไหร่เพราะมันหวานจัดและมีกลิ่นแรงอาจจะเป็นเพราะส่วนใหญ่ชอบกินพวกเบเกอร์รี่ที่ไม่หวานจัดหรือหน้าตาดูน่ากินกว่านี้ที่อยู่ในตู้ที่ดูสะอาดและบรรจุภัณฑ์ต่างๆสวยงามกว่านี้ อีกอย่างจากการไปที่ร้านขนมอินเดียแล้วดูท่าทางไม่ค่อยสะอาดเลยไม่ค่อยชอบ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตลาดผลไม้อบแห้งในสหภาพยุโรป


ตลาดผลไม้อบแห้งในสหภาพยุโรป
 ข่าวเศรษฐกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า -- พฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2551 14:05:10 น.



ข่าวเศรษฐกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า -- พฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2551 14:05:10 น.
       สหภาพยุโรป (
European Union : EU) เป็นตลาดผลไม้อบแห้งที่น่าสนใจแห่งหนึ่งด้วยปริมาณนำเข้าผลไม้อบแห้งสูงราว 762,000 ตัน คิดเป็นมูล ค่า 1,200 ล้านยูโรในปี 2549 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีในช่วงปี 2545-2549 เมื่อประกอบกับแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมอาหารที่มีผลไม้อบแห้งเป็นส่วนประกอบโดยเฉพาะอาหารเช้าที่มีส่วนผสมของธัญพืชผลิตภัณฑ์เบเกอรี และขนมขบเคี้ยวซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงถึง 45,9 00 ล้านยูโร เพื่อทดแทนอาหารมื้อหลักขณะที่การผลิตผลไม้อบแห้งใน EU ซึ่งปัจจุบันมีเพียงราว  270,000 ตันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกผลไม้อบแห้งไป EU โดยเฉพาะมะม่วงอบแห้งมะละกออบแห้งและมะขามอบแห้งซึ่งเป็นผลไม้อบแห้งเขตร้อนที่เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานมากขึ้นใน EU สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดผลไม้อบแห้งใน EUมีดังนี้




* ส่วนแบ่งตลาดผลไม้อบแห้งที่ EU นำเข้าส่วนใหญ่ คือ ลูกเกดลูกพรุนและอินทผลัมอบแห้งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 49 ของมูลค่านำเข้าผลไม้อบแห้งทั้งหมด โดยในปี 2549 ตุรกี ครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้อบแห้งใน EU สูงสุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 30 รองมาคือ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ10 ) ชิลี (ร้อยละ 6) ตูนีเซีย(ร้อยละ 5) และอิหร่าน(ร้อยละ 3) ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่าร้อยละ 1 อย่างไรก็ตามพบว่าไทยครองส่วน
แบ่งตลาดผลไม้อบแห้งเขตร้อน โดยเฉพาะมะขามอบแห้งสูงสุดถึงร้อยละ 57
* อัตราภาษีนำเข้า EU ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences  : GSP) แก่ผลไม้อบแห้งนำเข้าบางรายการจากไทย ทำให้ปัจจุบันไทยเสียภาษีนำเข้าในอัตรา ร้อยละ 0-12.5  อาทิ  กล้วย อบแห้งมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ12.5  มะละกออบแห้งร้อยละ 0  และมะขามอบแห้งร้อยละ  0
ช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่นำเข้าผ่านผู้นำเข้าอาหารทั่วไปหรือผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งโดยเฉพาะซึ่งเป็นผู้จำหน่ายโดยตรงให้กับโรงงานผลิตอาหารผู้บรรจุถุงค้าปลีก ร้านค้าปลีก และร้นจำหน่ายอาหารเพื่อสุข ภาพ สำหรับผู้นำเข้ารายสำคัญของ EU อาทิ Community  Foods
(ผู้นำเข้าผลไม้อบและอาหารเกษตรอินทรีย์ของอังกฤษ) Torrig lia Vincenzo (ผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งของอิตาลี) Catz International



BV(ผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งของเนเธอร์แลนด์) Daras (ผู้นำเข้าอาหารรวมถึงผลไม้อบแห้งของฝรั่งเศส) และ Palm Nuts & More (ผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งเพื่อจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารและห้างค้าปลีกในเยอรมนี) ทั้งนี้การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารใน EU อาทิ Food and Drink
Expo ซึ่งจะจัดขึ้นที่อังกฤษ  ระหว่างวันที่ 6-9 เมษายน 2551 และ Internorga ซึ่งจะจัดขึ้นที่เยอรมนี ระหว่างวันที่ 7-12 มีนาคม 2551 เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ส่งออกผลไม้อบแห้งของไทยจะได้พบปะกับผู้นำเข้าของ EU อีกทั้งยังได้สำรวจตลาดศึกษาถึงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับการผลิตสินค้าของตนให้เป็นที่น่าสนใจ และตรงต่อความต้องการของตลาด อันจะส่งผลให้ผลไม้อบแห้งของไทยสามารถขยายตลาดใน EU ได้มากขึ้น



* การบริโภคราวร้อยละ 80 ของปริมาณการบริโภคผลไม้อบแห้งทั้งหมดของ EU เป็นของกลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่มีผลไม้อบแห้งเป็นส่วนประกอบโดยโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในอังกฤษเยอรมนีฝรั่งเศส และอิตาลีขณะที่อีกร้อยละ 20 เป็นผู้บริโภคใน EU ซึ่งชื่นชอบผลไม้อบแห้งพร้อมรับประทาน อาทิ ลูกเกด และ ลูกพรุนอบแห้งซึ่งมีวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกและร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพนอกจากนี้ผลไม้อบแห้งอินทรีย์ซึ่งผลิตจากผลไม้ที่ปลูกด้วยดินที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีรวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีก็เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มผู้บริโภค  EU
   



วิเคราะห์SWOT

จุดแข็ง(Strength)
ด้วยความได้เปรียบทางสภาพภูมิอากาศทำให้ไทยมีกำลังการผลิตที่มากกว่าโดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อนซึ่งเปนที่ต้องการของตลาดมากขึ้นในปัจจุบัน
จุดอ่อน (Weekness)
ไทยยังขาดวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมไปถึงยังไม่สามารถเจาะกลุ่มตลาดใน EU ได้มาก

โอกาส (Opportunity)
พฤติกรรมผู้บริโภคของประชาชนในประเทศอังกฤษมีความต้องการในการบริโภคผลไม้อบแห้งเมืองร้อนมากขึ้น
และไทยยังมีแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่อยู่ในประเทศซึงได้เปรียบกว่าแฃประเทศแถบยุโปในเรื่องผลไม้เมืองร้อน

อุปสรรค (Threat)
การจะเข้าถึงกลุ่ม EU และตีตลาด EU ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อเป็นที่ยอมรับ


วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ


               การค้าระหว่างประเทศ  คือ การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ เกิดจากความแตกต่างทางทรัพยากรและปัจจัยการผลิตของแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีเรื่องของทฤษฎีต่างๆมาเกี่ยวข้อง อันได้แก่ ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงสมบูรณ์  ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงสมบูรณ์  ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและทฤษฎีเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิต ประโยชน์ในการบริโภค  ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม การแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ  ส่วนการตลาดระหว่างประเทศ
         การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ|
                    การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด

                             แหล่งที่มา www.management.cmru.ac.th/home3/.../gen9.ppt

สถานที่ที่สำคัญของประเทศอังกฤษ


Bigben
        บิ๊กเบน ตึกสภา เวสต์มินสเตอร์ ทั้งหมดคือ สัญลักษณ์ของลอนดอนที่ไม่เคยเสื่อมความสำคัญ ตัวบิ๊กเบนและอาคารรัฐสภาตั้งอยู่ริมแม่น้ำเทมส์ ขณะนี้กำลังขัดสีฉวีวรรณเป็นการใหญ่จึงเห็นเป็นสีทองอร่าม ไม่ดำหม่นมัวด้วยคราบเขม่าควันและการเวลาเหมือนในอดีต มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์กำลังซ่อมแซมเช่นกัน เหมือนกับสะพานข้ามแม่น้ำเทมส์ในบริเวณใกล้เคียงที่ทำให้การเดินข้ามถนนไปมาของนักท่องเที่ยวออกจะ ลำบากไม่ใช่น้อยเลย

สะพานทาวเวอร์ (Tower Bridge)
สร้างขึ้นเหนือแม่น้ำเทมส์ โดยสะพานแห่งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดชมวิว ที่มีความสูงถึง 140 ฟุต เท่านั้น แต่ภายในของฐานสะพาน ที่ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะเป็นหอสูง ยังเป็นที่ที่จัดนิทรรศการ เกี่ยวกับประเทศอังกฤษ จนถึงมีจัดแสดงห้องอบไอน้ำสมัยวิกตอเรียนด้วย

Buckingham Palace
เป็นพระราชวังที่สำคัญของอังกฤษที่สามารถเปิดให้คนเข้าชมได้ ซึ่งภายในพระราชวังจะมีห้องต่างๆ ที่น่าสนใจที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อาทิ ห้องบังลังก์ของกษัตริย์ ห้องแกลลอรี่ ห้องเสวยพระกระยาหาร ซึ่งห้องต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการตกแต่งอย่างงดงามและอลังการ นอกจากนี้ ภายในพระราชวังยังมีสวนที่ได้รับการตกแต่งอย่างดี เหมาะแก่การเดินชมวิวเป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญ คือ การผลัดเปลี่ยนเวร(Changing the Guard) การผลัดเปลี่ยนเวรจะมีขึ้นที่บริเวณพระราชวังบักกิ้งแฮม โดยจะเริ่มแสดงเวลา 11.30 น . และจะใช้เวลาแสดงทั้งหมด 40 นาที แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ ในวันที่มีเหตุการณ์สำคัญของเมือง การผลัดเปลี่ยนเวรอาจจะงดได้ในวันที่ฝนตก



Oxford Street
แหล่งชอปปิ้ง อีกแห่งที่ไม่น่าที่จะพลาดคือ อ๊อกฟอร์ดสตรีท มีความยาวถึง 1 ไมล์ (1.6 กม .) ทั้งสองฟากฝั่งถนนอุดมไปด้วยร้านค้านานาชนิด ที่เห็นใหญ่โตมโหฬารที่สุดในย่านนี้ก็คงจะเป็นห้างที่มีชื่อว่าเซลฟริดเสจ (Selfridges) ซึ่งมีของขายตั่งแต่เครื่องใช้ในบ้าน ฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าเครื่องสำอาง เครื่องแก้ว ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าแบรนเนม ซึ่งเป็นอีกแหล่งชอปปิ้ง ที่ทุก ๆ คนประทับใจมาก
* สถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ : Bond Street Station, Oxford Circus tube station

 
London Eye
บริติช แอร์เวยส์ ลอนดอน อาย (British Airways London Eye) กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษไปซะแล้ว สำหรับบริติช แอร์เวยส์ ลอนดอน อาย ที่สร้างขึ้นเพื่อรับปี สหัสวรรษ 2000 โดยสายการบินบริติช บริติช แอร์เวยส์ ลอนดอน อาย เป็นจุดชมวิว ที่มีลักษณะเป็นกงล้อหมุน มีความสูง 135 เมตร จุดชมวิวนี้ สร้างขึ้นภายใต้แนวความคิด อากาศ น้ำ พื้นโลก และเวลา

 


Harrods
ห้างแฮร็อดส์ (Harrods) อภิมหาเศรษฐีชาวอียิปต์ชื่อ อัลฟาเยด เป็นเจ้าของกิจการตั้งอยู่บนบรอมตันแถวๆย่าน " ไนท์บริดจ์ "(Knightsbridge) ที่ห้างแฮร็อดส์มีของขายมากมายกว่า 300 แผนก อยากจะได้อะไรข้างในมีหมด เพียงแต่ว่าจะตัดสินใจซื้อกันหรือเปล่าเทานั้น เพราะราคาข้าวของแต่ล่ะอย่างแพงหูฉี่ ในห้างมีร้านโดนัทชื่อดังอันดับ 1 ใน 10 ของโลกคือ Krispy Kream อร่อยมากขอรับประกันคุณภาพหากหาซื้ออะไรไม่ได้ ซื้อถุงก๊อปแก๊ปของห้างมาเป็นที่ระลึกก็ยังดี

แหล่งที่มา http://england.educatepark.com/travel/location.php